องค์การบริหารส่วนตำบล แม่ปะ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
หน้าหลัก

หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน

ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร

บุคลากร
การบริหารบุคคล

การบริหารบุคคล
ข่าวสาร

ข่าวสาร
แผน

แผน
รายงาน

รายงาน
ระเบียบ

ระเบียบ
บริการประชาชน

บริการประชาชน
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ
ศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของชาวแม่ปะ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ปะ
อุทยานแห่งชาติเนินพิศวง
เศรษฐกิจพอเพียงสวนลุงเทือง
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
1
2
3
4
5
 
 


 
ประชาชนในตำบลแม่ปะอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อยู่อย่าง เรียบง่ายตามแบบสังคมของชาวชนบท มีวัดเป็น ศูนย์รวมจิตใจของประชาชน และประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำไร่ ทำนา ทำสวน เป็นส่วนใหญ่


 
อบต.แม่ปะ มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชภป.) และมีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ประจำตำบล ซึ่งตั้งอยู่ หน้าโรงเรียนแม่ปะ หมู่ที่ 2
 


 
วัด / สำนักสงฆ์ จำนวน 12 แห่ง

วักแม่ปะเหนือ หมู่ที่ 1

วัดเวฬุวัน หมู่ที่ 2

วัดใหม่คำมา หมู่ที่ 3

วัดห้วยแก้ว หมู่ที่ 4

สำนักสงฆ์ปากห้วยแม่ปะ หมู่ที่ 5

วัดโพธิคุณ หมู่ที่ 6

วัดหนองบัวบูรพา หมู่ที่ 7

สำนักสงฆ์ล้านนาบุญญาราม หมู่ที่ 7

สำนักสงฆ์ห้วยลึก หมู่ที่ 8

วัดพระธาตุสิริมงคล หมู่ที่ 9

สำนักสงฆ์บ้านสันทราย หมู่ที่ 9

วัดสันติธรรม หมู่ที่ 10

วัดหนองบัวคาไชยมงคล หมู่ที่ 11
ศาลเจ้า จำนวน 5 แห่ง

ศาลเจ้าพ่อพะวอ หมู่ที่ 5, 7, 10, 11

ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน หมู่ที่ 6
โบสถ์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

หมู่ที่ 1  

หมู่ที่ 9  


 
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ โครงการถ่ายโอนภารกิจจากหน่วยราชการอื่น จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ปะ หมู่ที่ 10

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่ปะกลาง หมู่ที่ 2
โรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 ได้แก่
  ระดับประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง

โรงเรียนบ้านแม่ปะเหนือ หมู่ที่ 8

โรงเรียนบ้านแม่ปะ หมู่ที่ 2

โรงเรียนบ้านแม่ปะใต้ หมู่ที่ 3

โรงเรียนบ้านห้วยกะโหลก หมู่ที่ 4

โรงเรียนบ้านห้วยหินฝน หมู่ที่ 6
  ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง

โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม หมู่ที่ 2
โรงเรียนอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง

วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด หมู่ที่ 10
มหาวิทยาลัย จำนวน 1 แห่ง

มหาวิทยาลัยราชภัฎกาแพงเพชร (แม่สอด) หมู่ที่ 7

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (แม่สอด)
    หมู่ที่ 6
 


     
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล จำนวน 3 แห่ง

บ้านแม่ปะกลาง หมู่ที่ 2

บ้านห้วยกะโหลก หมู่ที่ 4

บ้านห้วยหินฝน หมู่ที่ 6
สถานพยาบาลเอกชน (โรงพยาบาล) จำนวน 1 แห่ง

โรงพยาบาลนครแม่สอด อินเตอร์เนชั่นแนล หมู่ที่ 9
สถานพยาบาลเอกชน (คลินิกและร้านขายยา) จำนวน 3 แห่ง

คลินิกสุรภีการพยาบาลและผดุงครรภ์ หมู่ที่ 2

ร้านขายยาสมจิตรเภสัช หมู่ที่ 9

ร้านขายยาเจสินันท์เภสัช หมู่ที่ 9
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
 


   

ประเพณีเดือนสี่จี่ข้าวหลาม คนเมืองเชื้อสายล้านนาและพี่น้องชาวพม่าจะเผาข้าวหลาม เพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ใน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2

ประเพณีไหว้ผีปูย่า โดยจะมีการนำอาหารและเครื่องดื่ม มาเซ่นไหว้ต้นตระกูลของแต่ละครอบครัว

นิเทาะซอ หรือวันปีใหม่กะเหรี่ยง

การทอดผ้าป่า การขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานแต่งงาน การทำบุญต่างๆ เพราะคนทางเหนือ คนล้านนาเชื่อว่าเดือน 6 (ล้านนา) เป็นเดือนสิริมงคล เหมาะสมกับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ
 
การตานเฮือนน้อย (ปล่อยข้าวสังข์)
 
ประเพณีปี๋ใหม่เมือง คนเมืองเชื้อสายล้านนาจะสืบสานประเพณีรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ในวันที่ 15 เมษายนของทุกปี เรียกว่า "วันพญาวัน" ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนล้านนาด้วย ส่วนพี่น้องชาวพม่ากะเหรี่ยงก็จะซึมซับประเพณีเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย
 
ตำบลแม่ปะจะมีประเพณี “สรงน้ำพระธาตุ เจดีย์พญาหน่อกวิ้น” สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำบล ในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี
 
สืบชะตาหลวงของหมู่บ้าน
 
ปอยส่างลอง หรือบวชลูกแก้ว
 
ประเพณีทำตะแหลว ตะกล้า เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลในการทำนา
 
ปลูกต้นไม้ บวชป่า บวชปลา
 
ประเพณีวันเข้าพรรษา ทั้งคนไทย พม่า มอญ ไทยใหญ่ และกระเหรี่ยงที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธก็จะเข้าวัดทำบุญร่วมกัน
 
ประเพณีอุปัตก่า เป็นประเพณีของชาวพม่าและไทใหญ่ คือการแต่งกายสีขาวแล้วเดินเป็นขบวนขอรับการบริจาค ทรัพย์หรือข้าวสารอาหารแห้งเพื่อนำไปถวายวัดในช่วงเข้าพรรษา
 
ประเพณีตานก๋วยสลาก เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับตามแบบคนเมืองเชื้อสายล้านนา (ก่อนออกพรรษา)
 
ถวายข้าวพระพุทธ ก่อนออกพรรษา 2 อาทิตย์ และจะมีการกวนข้าวทิพย์ด้วย
 
วันออกพรรษา
 
ตักบาตรเทโวโรหนะ 2 แผ่นดิน
 
ประเพณีลอยกระทง ซึ่งในพื้นที่ตำบลแม่ปะจะมีการผสมผสานวัฒนธรรมทั้งของคนไทยเกี่ยวกับการลอยกระทง และ ประเพณีตลาดสวรรค์ของคนไทยใหญ่ ที่จะมีการทำทานด้วยอาหาร ขนม และเครื่องดื่มนำมาแจกจ่ายให้ผู้ที่มาร่วมงานได้กินฟรี ซึ่งชาวไทยใหญ่ถือว่าเป็นการทำทานที่ได้บุญมาก
 
ประเพณีปล่อยโคมลม เป็นการสะเดาะเคราะห์
 
การเลี้ยงเจ้าที่/เจ้าทาง หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว
 
การสืบชะตา สะเดาะห์เคราะห์ (สะตวง)
 
 
 
 
 
 


รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 055-533-126 ต่อ 12

 
 
แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10